พนักงาน ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน แต่รับเงินเดือนเท่า 5 วัน!
แถมผลลัพธ์ยังดีกว่า.. บริษัทประกาศผลสำเร็จและเตรียมประกาศใช้ถาวร

อ่าน Elon Musk ฝากบอกคนรุ่นใหม่.. “ทักษะสำคัญกว่าใบปริญญา”

Perpetual Guardian บริษัทบริหารกองทรัสต์และอสังหาฯใน New Zealand
ได้ทดลองวิธีทำงานนี้กับพนักงาน 240 คน ระบุได้ Productivity สูงขึ้น
และยังทำให้พนักงานมีเวลากับครอบครัว ออกกำลังกาย
และทำอาหารมากขึ้นอีกด้วย

บริษัทลองลดเวลาทำงานจาก 40 ชม. เหลือ 32 ชม. ต่อสัปดาห์
ช่วงเดือนมีนาและเมษาที่ผ่านมา
และยังให้นักวิจัย 2 คนทำการศึกษาถึงผลลัพธ์

 

ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ?

ปรากฎว่าพนักงานมี Work-Life Balance ดีขึ้น 24%

“แต่ผลลัพธ์ของงานที่ได้กลับไม่เปลี่ยนไป ถึงแม้ใช้เวลาทำแค่ 4 วันต่อสัปดาห์แทน 5 วัน”

Jarrod Haar ศาสตราจารย์ด้านทรัพยากรบุคคลจากมหาวิทยาลัย Auckland กล่าว

“หัวหน้าแจ้งว่า ลูกน้องตนมีความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
กลับมาทำงานสดชื่นขึ้นในวันถัดไป
และใส่ใจและมาทำงานตรงเวลามากขึ้น
รวมถึงไม่หายไปพักเบรคนานๆ หรือกลับบ้านก่อนเวลา” – เขากล่าว

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

พนักงานบอกว่าเมื่อเวลาทำงานน้อยลง เขาต้องหาคิดหาวิธีใหม่ๆมาเพิ่มผลลัพธ์ขึ้น
เช่น ลดการประชุมจาก 2 ชม. เหลือ 30 นาที
และมีใช้สัญญาณบอกเพื่อนร่วมงานว่า “กำลังทำงานอยู่ อย่าเพิ่งรบกวน”

“พนักงานเริ่มหาว่าตนเสียเวลาตรงไหน และทำงานให้ฉลาดขึ้นไม่ใช่หนักขึ้น” – Haar กล่าว

Andrew Barnes เจ้าของบริษัทถึงกับเชื่ออย่างภูมิใจว่า
ตนเป็นบริษัทแรกในโลกที่จ่ายเงินพนักงาน 40 ชั่วโมง แต่ให้ทำงาน 32 ชม.
บริษัทอื่นมักใช้วิธี ลดวันทำงาน แต่ให้ทำงานรวมได้ 40 ชม.เท่าเดิม
หรือไม่ก็ให้ทำ Part-Time แทน เพื่อลดค่าจ้าง

เขาบอกอีกว่า ได้ไอเดียนี้มาจากรายงานที่บอกว่า
พนักงานได้ทำงานจริงๆ แค่ “วันละไม่ถึง 3 ชม.”
และการวอกแวกในที่ทำงาน ยังเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ
รวมถึงทำให้เสพย์กัญชามากขึ้น

 

ไม่ได้แค่ใน New Zealand เท่านั้น

หลายบริษัทในในเมือง Gothenburg ประเทศ Sweden
ลองวิธีคล้ายกันมาแล้ว เช่น บังคับให้ทำงานวันละ 6 ชม.
และพบว่าพนักงานทำงานได้เท่าเดิม หรือมากขึ้นซะด้วยซํ้า

 

..แต่ไม่ใช่ทุกที่ จะได้ผลลัพธ์ที่ดี

วิธีแบบนี้กลับไม่สำเร็จในฝรั่งเศส ในปี 2000 มีการบังคับชั่วโมงทำงาน 35 ชั่วโมง
แต่หลายธุรกิจกลับเจอปัญหาความสามารถในการแข่งขันลดลง
และต้นทุนจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

 

หากชั่วโมงทำงานลดลง ควรจ้างพนักงานอย่างไร?

Barnes ยังบอกว่า เวลาจ้างพนักงานควรจะตกลงกันที่ ”ตัวงานที่ต้องทำ”
แทนการกำหนดสัญญาจ้างด้วย “จำนวนชั่วโมง” ที่อยู่ในออฟฟิศ

“ไม่งั้นเหมือนคุณกำลังบอกว่า เนี่ยผมขี้เกียจคิดว่าคุณต้องทำอะไร..
ผมจ่ายเงินเดือนตามที่คุณมาออฟฟิศแล้วกัน”

“สัญญาจ้างควรตกลงกันที่ ‘ระดับของผลลัพธ์ของงาน’
ถ้าคุณใช้เวลาน้อยกว่าแล้วงานเสร็จ ทำไมผมต้องหักเงินด้วยหละ?”

 

ไม่ใช่แค่เรื่องงาน ที่ดีขึ้น

Banes ยังบอกเป็นของแถมอีกว่า บริษัทตนลดค่าไฟลงได้ 20%
ลองคิดดูหากหลายบริษัทต่างทำแบบนี้
ในชั่วโมงเร่งด่วน รถยนต์บนถนนก็จะลดลงด้วย จริงมั้ย?

 

TL;DR

ในยุคนี้ รูปแบบการทำงานก็อาจต้องปรับเปลี่ยนไป
ไม่ใช่แค่เพียงทำวิธีเดิมๆ ที่ทำกันเป็นเป็นร้อยๆปี

เคสนี้เป็นตัวอย่างนึงที่ดีในการ ”ทำงานให้ฉลาด” ขึ้น
แต่ไม่ใช่ว่าเราควรเอาไปทำเลย
โดยไม่ทดลองว่าเหมาะสมกับพนักงานของเราหรือเปล่า

แต่หวังลึกๆว่าจะทำให้เกิด “มุมมองใหม่ๆ” ของการทำงานที่ดีขึ้น