ทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลังที่สามารถ

ชวนผู้ฟังไปอยู่ในโลกของเราได้อย่างเพลิดเพลิน  ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข้อมูล ขายสินค้า หรือแม้แต่มอบความบันเทิง ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไว้ได้

ตั้งแต่ต้นยันจบ 

                บทความนี้ Futureskill ขอนำทุกคนไปรู้จักกับการเล่าเรื่อง 8 แบบยอดนิยม ที่จะช่วย

ยกระดับศิลปะการถ่ายทอดของคุณให้มีความสละสลวยจนทำให้คนอ่านรู้สึกตกหลุมรัก เรื่องราวของคุณอย่างแน่นอนครับ

ปล.บทความนี้ อาจจะมีการเปิดเผยเรื่องราวของนวนิยายและภาพยนตร์เพื่ออธิบายความหมาย ของการเล่าเรื่องให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

1. Hero’s Journey “เรื่องเล่าการเดินทางของวีรบุรุษ”

           เป็นรูปแบบคลาสสิกที่แฟนนิยายและภาพยนตร์คุ้นเคยดี เรื่องราว จะเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ของตัวเอกออกเดินทางออกไปด้วยเป้าหมายหนึ่ง เผชิญหน้ากับอุปสรรค ผ่านการทดสอบ

ฝีมือและจิตใจ จนฝ่าฟันขึ้นมาสู่ความสำเร็จ 

ตัวอย่าง  

ภาพยนตร์ Star Wars : Luke Skywalker เด็กหนุ่มน้อยธรรมดาออกเดินทางผจญภัย ฝึกฝน พัฒนาพลังจนกลายเป็น Jedi กอบกู้จักรวาล

นวนิยาย The Lord of the Rings : Frodo Baggins ผู้แบกรับภารกิจทำลายแหวน เขาออกเดินทางพร้อมเหล่าพันธมิตร เผชิญหน้าอุปสรรคมากมาย ก่อนจะทำลายแหวนสำเร็จ และสามารถปลดปล่อย Middle-earth ออกจากมือจอมมาร

2. The Mountain “เรื่องเล่าแบบหักมุม”

เรื่องราวแบบค่อย ๆ สร้างความตึงเครียดขึ้นทีละน้อย ผ่านอุปสรรคหนักหนาสาหัส เลวร้ายมากขึ้นจนไปถึงจุดสูงสุด แล้วจึงคลี่คลายความขัดแย้งลงมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ตัวอย่าง  

ภาพยนตร์ The Shawshank Redemption : Andy Dufresne ถูกจับในข้อหาฆาตกรรมเพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ เขามั่นใจว่าบริสุทธิ์ แต่ด้วยหลักฐานกลับชี้มาที่ตัวเขาทำให้ต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตในเรือนจำชอว์แชงค์ ด้วยมิตรภาพ ความเฉลียวฉลาด เขาสามารถสร้างชีวิตใหม่ด้วยการวางแผนหลบหนี และมุ่งหน้าสู่อิสรภาพ 

3.Nested Loops  “เรื่องเล่าซับซ้อนสไตล์รังนก” 

การสานเรื่องราวเข้าหากัน แบบซับซ้อน เริ่มจากเรื่องหลักขนาดใหญ่ ก่อนที่จะแยกย่อยเข้าไปสู่เรื่องเล็ก ๆ หลากหลายมิติ แต่ล้วนเชื่อมโยงกัน สานไปมาอย่างซับซ้อน แต่ยังคงไม่หลงทิศทาง

ตัวอย่าง  

ภาพยนตร์ Pulp Fiction : เรื่องราว 3 เหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกัน เล่าแบบสลับไปมาระหว่างตัวละคร สร้างความตื่นเต้นลุ้นระทึก

นวนิยาย Cloud Atlas : เรื่องราว 6 เหตุการณ์ใน 6 ช่วงเวลา แต่ละเรื่องเชื่อมโยงกันด้วย “วิญญาณ” ของตัวละคร เผยให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์

4.Sparklines “เรื่องเล่าแบบสร้างแรงบันดาลใจ”

การเล่าเรื่องมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้น และจุดประกายผู้อ่านให้รู้สึกตื่นเต้น จนเกิดเป็นความหวัง ผ่านการเล่าเรื่องเข้มข้น น่าสนใจ เต็มไปด้วยพลัง ผู้อ่านจะรู้สึกอินกับตัวละคร เหตุการณ์ และบทเรียนต่าง ๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมา

ตัวอย่าง  

ภาพยนตร์ Up : คุณปู่คาร์ลผูกลูกโป่งนับพันไว้กับบ้านที่เขารัก ทำให้บ้านลอยฟ้าไปยังดินแดนในฝันอเมริกาใต้ จนได้พบกับเด็กชายรัสเซล ทั้งคู่ได้เรียนรู้ว่ามิตรภาพและความฝันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ไม่ว่าเราจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม

นวนิยาย The Brief Wondrous Life of Oscar Wao : เด็กหนุ่มเชื้อสายโดมินิกัน ถูกมองว่ามีรูปร่าง อ้วน อัปลักษณ์ โชคร้ายเรื่องความรัก เขาพยายามตามหาความรักและค้นหาตัวตน ท่ามกลางคำสาปของครอบครัว เรื่องราวสะท้อนการค้นหาตัวตน ผ่านตัวละครที่เต็มไปด้วยความหวัง และความฝัน

5. In Medias Res “เล่ากลางเรื่อง ไปยังต้นเรื่อง”

รูปแบบการเล่าดึงความสนใจผู้ฟังได้มากที่สุดเลยทีเดียว โดยจะเริ่มต้นเรื่องจากตรงกลาง ณ จุดหักเหสำคัญที่เหตุการณ์พลิกผันได้เกิดขึ้นแล้ว จากนั้นจึงค่อยย้อนกลับไปเล่าเรื่องราวในอดีต สานต่ออนาคต และนำไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง

ตัวอย่าง 

ภาพยนตร์: The Matrix : ภาพยนตร์เริ่มต้นด้วย Neo ตื่นขึ้นมาในโลก Matrix โดยไม่รู้ที่มาที่ไป สร้างความสงสัยและดึงดูดให้ผู้ชมอยากรู้ต่อ

นวนิยาย The Great Gatsby : นวนิยายเริ่มต้นด้วย Nick Carraway เดินทางไปงานศพ Gatsby สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับตัวตนและอดีตของ Gatsby 

6. Converging Ideas “เรื่องเล่าจากหลายมุมมอง” 

การนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองของตัวละคร แหล่งข้อมูล หรือเหตุการณ์แตกต่างกัน ก่อนที่จะหาทางเชื่อมต่อ โดยที่ทุกตัวละครมีจุดหมายและความเห็นไปในทางเดียวกัน

ตัวอย่าง

ภาพยนตร์ Crash : ภาพยนตร์เล่าเรื่องราว 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Los Angeles แต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับ “อุบัติเหตุ” เผยให้เห็นปัญหาและความตึงเครียดในสังคม

7. False Start “จุดเริ่มต้นที่ความผิดพลาด” รูปแบบนี้จะใช้เล่าเรื่องด้วยการดึงดูดความสนใจผู้ฟังด้วยภาพลวงตาในตอนต้น โดยนำเสนอเหตุการณ์เรียกร้องความสนใจสูงสุด แต่แล้วทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ถูกเปิดเผย เล่าให้รับรู้ว่าทั้งหมดเป็นเพียงฉากหน้าเพื่อปกปิดความจริงบางอย่างนั่นเอง

ตัวอย่าง

ภาพยนตร์ ฉลาดเกมส์โกง : เรื่องราวเริ่มต้นด้วยฉากตัวละครที่ชื่อว่า หลิน นักเรียนหัวกะทิของโรงเรียน โดนไล่ออกเพราะถูกจับได้ว่า “โกงข้อสอบ

หนังค่อย ๆ ย้อนกลับไปเล่าเรื่องในอดีตของตัวละครเรื่อยถึงที่มาของการกระทำของตัวเอก

8.Petal Structure “โครงสร้างกลีบดอก”

การเล่าผ่านเรื่องราวหนึ่งที่เป็นจุดศูนย์กลาง ก่อนแตกแขนงแยกย่อยออกเป็นเรื่องย่อย ๆ หลากหลายสาย แต่ล้วนเชื่อมโยงกลับมาที่จุดกำเนิดนั้น สร้างความแปลกใหม่ และน่าติดตามอย่างยิ่งให้กับเรื่องราวของคุณ 

ตัวอย่าง

ภาพยนตร์ Disconnected :

ภาพยนตร์สั้นหลายเรื่องที่สะท้อนผลลัพธ์อันเลวร้ายจากโลกออนไลน์ การตัดต่อที่ลงตัวประสานเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว เผยให้เห็นภาพรวมของปัญหาการเสพติดอินเทอร์เน็ต ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ สุขภาพจิต และชีวิตส่วนตัว

                รูปแบบการเล่าเรื่องที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับเนื้อหา วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย การเข้าใจรูปแบบเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองฝึกฝน นำไปใช้กับงานของคุณแล้วจะพบว่าการเล่าเรื่องเป็นทักษะที่มีพลัง ช่วยให้การ สื่อสารนั้นมีความแตกต่างและน่าจดจำครับ