Highlight

  • เทคนิค Five Why คือเครื่องมือทรงพลังที่ถูกคิดค้นโดย Sakichi Toyoda และถูกใช้โดยองค์กรระดับโลกอย่าง Toyota, Amazon และ NASA เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ของปัญหา
  • การใช้เทคนิคนี้ช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาและทรัพยากรจากการแก้ปัญหาผิดจุด อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ในหลายบริบทขององค์กร เช่น ด้านการผลิตและคุณภาพ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และด้านการบริการลูกค้า
  • หัวใจสำคัญของเทคนิคนี้คือการใช้ข้อมูลและหลักฐานประกอบการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่การตั้งคำถาม “ทำไม” เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนและวัดผลได้
  • การนำไปใช้ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การสนับสนุนจากผู้บริหาร และการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์แล้วจบ

———————————————————————————————

“ทำไมลูกค้าถึงยกเลิกการสั่งซื้อ?”

คำถามง่าย ๆ หนึ่งคำถามนี้ อาจนำไปสู่การค้นพบที่เปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร เมื่อ Sakichi Toyoda ผู้ก่อตั้ง Toyota Industries ค้นพบว่าการถามคำว่า “ทำไม” ซ้ำ ๆ 5 ครั้ง สามารถเจาะลึกไปถึงรากของปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้ เทคนิคที่ดูเรียบง่ายนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือทรงพลังที่สุดในการแก้ปัญหาขององค์กรระดับโลก

ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้จัดการที่ต้องรับมือกับปัญหายอดขายตก แทนที่จะรีบสรุปว่า “ต้องลดราคา” หรือ “ต้องโฆษณาเพิ่ม” คุณสามารถใช้เทคนิค Five Whys ตามตัวอย่างต่อไปนี้

ทำไมยอดขายตก? → ลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำ

ทำไมลูกค้าไม่กลับมา? → เคลมสินค้าแล้วไม่พอใจ

ทำไมไม่พอใจการเคลม? → ต้องรอนานกว่าจะได้สินค้าทดแทน

ทำไมต้องรอนาน? → ไม่มีระบบติดตามสถานะการเคลม

ทำไมไม่มีระบบติดตาม? → ไม่เคยมีการวางระบบจัดการการเคลมที่เป็นมาตรฐาน

จากการตั้งคำถาม 5 ครั้ง คุณค้นพบว่าปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องราคาหรือการตลาด แต่เป็นระบบการจัดการการเคลมที่ไม่มีประสิทธิภาพ การแก้ที่จุดนี้จะช่วยรักษาฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้อย่างยั่งยืน

Toyota ใช้เทคนิคนี้พัฒนาจนกลายเป็นผู้นำด้านคุณภาพระดับโลก Amazon ใช้เทคนิคนี้ในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า แม้แต่ NASA ก็ยังใช้เทคนิคนี้ในการวิเคราะห์ความล้มเหลวของภารกิจอวกาศ

ในยุคที่องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคนิค Five Why ไม่ใช่แค่เครื่องมือแก้ปัญหา แต่เป็นวิธีคิดที่จะช่วยให้องค์กรของคุณ:

  • ประหยัดเวลาและทรัพยากรจากการแก้ปัญหาผิดจุด
  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
  • พัฒนา Solution ที่แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการใช้เทคนิค Five Whys Analysis

1. ระบุปัญหา: กำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำกว้าง ๆ ควรเจาะจงกลุ่มหรือพื้นที่ที่เกิดปัญหา ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน หรืออาจใช้ตัวเลขหรือสถิติประกอบ

ตัวอย่างการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณในการระบุปัญหา เช่น

  • “ยอดขายลดลง 15% ในไตรมาสที่ผ่านมา”
  • “อัตราการส่งงานล่าช้าเพิ่มขึ้นเป็น 30%”
  • “ลูกค้าร้องเรียนเพิ่มขึ้น 25% จากเดือนก่อน”

2. ตั้งคำถาม “ทำไม”: เริ่มถามว่าทำไมปัญหานั้นถึงเกิดขึ้น โดยมีเทคนิคการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • หลีกเลี่ยงการชี้นำคำตอบ
  • ถามให้ลึกถึงกระบวนการ
  • มุ่งเน้นที่ข้อเท็จจริง

ตัวอย่างการตั้งคำถามที่ดี vs ไม่ดี

❌ “ทำไมพนักงานทำงานแย่?” (ตัดสิน)

✅ “ทำไมงานไม่เสร็จตามกำหนด?” (เป็นกลาง)

❌ “ทำไมไม่ทำตามที่สั่ง?” (โทษคน)

✅ “ทำไมกระบวนการไม่เป็นไปตามแผน?” (มุ่งที่กระบวนการ)

3. วิเคราะห์คำตอบ: บันทึกคำตอบและใช้เป็นฐานในการตั้งคำถามต่อไป โดยทุก ๆ ครั้ง ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุต่อนั้นเป็นความจริง โดยอาจลองพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้

  • คำตอบนี้มีข้อมูลสนับสนุนหรือไม่
  • คำตอบนี้สามารถตรวจสอบได้จริงหรือไม่
  • คำตอบนี้มีความเชื่อมโยงกับปัญหาหรือไม่
  • คำตอบนี้มีผู้เห็นด้วยมากกว่า 1 คนหรือไม่

4. ทำซ้ำ: ถามคำถาม “ทำไม” ต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ครั้ง โดยควรบันทึกทุกคำถามและคำตอบ พร้อมกับตรวจสอบความเชื่อมโยงในแต่ละขั้น และยืนยันว่าแต่ละขั้นมีเหตุผลรองรับจริง ๆ นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ประกอบด้วย

ตัวอย่างการบันทึก

ปัญหา: ยอดขายลดลง 15%

คำถาม 1: ทำไมยอดขายลดลง?

คำตอบ 1: ลูกค้าเก่าไม่กลับมาซื้อซ้ำ

ข้อมูลหลักฐาน: อัตราการซื้อซ้ำลดลง 40%

คำถาม 2: ทำไมลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำ?

คำตอบ 2: ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการใช้บริการ

ข้อมูลหลักฐาน: ผลสำรวจความพึงพอใจลดลงจาก 4.5 เหลือ 3.2

5. ระบุสาเหตุที่แท้จริง: พิจารณาคำตอบสุดท้ายว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริงหรือไม่ โดยเกณฑ์การพิจารณา Root Cause ของคำตอบนั้นจะต้องประกอบด้วย

  • สามารถแก้ไขได้จริง
  • อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้
  • แก้แล้วส่งผลต่อปัญหาโดยตรง
  • มีความคุ้มค่าในการแก้ไข

ซึ่งวิธีการตรวจสอบ Root Cause อาจทำได้หลายวิธีประกอบกัน เช่น ทดลองสมมติการแก้ไข ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาที่คล้ายกัน

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในองค์กร

1. ด้านการผลิตและคุณภาพ

ปัญหา: สินค้ามีตำหนิเพิ่มขึ้น

ข้อมูลพื้นฐาน: อัตราของเสียเพิ่มจาก 2% เป็น 5% ในเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าความเสียหาย: 150,000 บาท/เดือน

5 Whys Analysis

ข้อมูลหลักฐาน: 

  • 80% ของตำหนิเกิดจากการตัดไม่ตรงตำแหน่ง
  • Log เครื่องจักรแสดงค่าคลาดเคลื่อน ±2mm (มาตรฐาน ±0.5mm)

ข้อมูลหลักฐาน: 

  • ไม่มีบันทึกการปรับตั้งเครื่องจักรในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
  • พบการปรับตั้งผิดพลาด 12 ครั้งในเดือนล่าสุด

ข้อมูลหลักฐาน:

  • พนักงาน 70% มีประสบการณ์น้อยกว่า 6 เดือน
  • คะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ย 65% (เกณฑ์มาตรฐาน 80%)

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย 10 ชม./คน (มาตรฐานอุตสาหกรรม 40 ชม./คน)
  • ไม่มีการประเมินหลังการอบรม

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มีแผนการฝึกอบรมประจำปี
  • งบประมาณฝึกอบรมไม่ถูกใช้ 60% ของที่ตั้งไว้

2. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

ปัญหา: พนักงานลาออกบ่อย

ข้อมูลพื้นฐาน: อัตราการลาออกเพิ่มจาก 5% เป็น 12% ต่อปี

ค่าใช้จ่ายในการสรรหาและฝึกอบรมพนักงานใหม่: 80,000 บาท/คน

5 Whys Analysis

ข้อมูลหลักฐาน:

  • คะแนน Employee Engagement ลดลงจาก 7.5 เหลือ 5.8 (จาก 10)
  • 65% ของพนักงานที่ลาออกมีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี

ข้อมูลหลักฐาน:

  • 75% ของพนักงานใหม่รายงานว่ามีความเครียดในการทำงาน
  • ผลการประเมิน 90 วันต่ำกว่าเกณฑ์ 40%

ข้อมูลหลักฐาน:

  • สัดส่วนพี่เลี้ยง:พนักงานใหม่ = 1:5 (มาตรฐาน 1:2)
  • พี่เลี้ยง 80% ไม่มีเวลาสอนงานเต็มที่เพราะต้องทำงานประจำ

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มีคู่มือการสอนงาน
  • ไม่มีการกำหนด KPI ด้านการสอนงานสำหรับพี่เลี้ยง

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มีแผนพัฒนาบุคลากรระยะยาว
  • งบประมาณพัฒนาบุคลากรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม 40%

3. ด้านการบริการลูกค้า

ปัญหา: ลูกค้าร้องเรียนเพิ่มขึ้น

ข้อมูลพื้นฐาน: จำนวนข้อร้องเรียนเพิ่มขึ้น 35% ในไตรมาสที่ผ่านมา

คะแนนความพึงพอใจลูกค้า: ลดลงจาก 4.2 เหลือ 3.6 (จาก 5)

5 Whys Analysis

ข้อมูลหลักฐาน:

  • เวลาเฉลี่ยในการแก้ปัญหา 72 ชั่วโมง (เป้าหมาย 24 ชั่วโมง)
  • 60% ของลูกค้าต้องติดต่อมากกว่า 2 ครั้งต่อ 1 ปัญหา

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ต้องผ่าน 5 ขั้นตอนในการอนุมัติ
  • งานค้างในระบบเฉลี่ย 48 ชั่วโมง

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มี SLA ที่ชัดเจน
  • แต่ละทีมมีขั้นตอนการทำงานต่างกัน

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มีการประชุมทบทวนกระบวนการในรอบ 6 เดือน
  • ไม่มีการเก็บ Feedback จากพนักงานที่ปฏิบัติงาน

ข้อมูลหลักฐาน:

  • ไม่มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการ (Process KPI)
  • ไม่มีผู้รับผิดชอบหลักในการปรับปรุงกระบวนการ

จากตัวอย่างทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ในทุก ๆ ขั้นจะช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขได้เป็นรูปธรรม เห็นขนาดและผลกระทบของปัญหาชัดเจน ทั้งยังทำให้การวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ และสามารถวัดความสำเร็จของการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

ข้อควรระวังและข้อจำกัด

1. การตั้งคำถามที่ไม่เหมาะสม

  • ควรหลีกเลี่ยงคำถามชี้นำ
  • ต้องไม่ด่วนสรุปคำตอบ

2. การขาดข้อมูลสนับสนุน

  • ต้องมีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำมาวิเคราะห์เสมอ

3. ขาดการนำไปปฏิบัติจริง

  • ทุกฝ่ายควรกำหนดแผนการนำไปปฏิบัติใช้ที่ชัดเจน
  • ต้องมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

สรุป

เทคนิค Five Why มีจุดประสงค์หลักคือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Cause) โดยไม่ใช่แค่การฝึกตั้งคำถามหรือฝึกความคิดสร้างสรรค์ แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราขุดลึกลงไปเรื่อย ๆ จนพบสาเหตุที่แท้จริง

การประยุกต์ใช้เทคนิค Five Why อย่างถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการใช้เทคนิค Five Why นั้นขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การสนับสนุนจากผู้บริหาร และการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หากองค์กรใดต้องการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนอาจลองพิจารณาใช้เทคนิค Five Why ในการแก้ปัญหาได้

และหากอยากพัฒนาการทักษะการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมสามารถมาเรียนได้ในคอร์ส “จัดการปัญหาที่ท้าทายให้ง่ายในพริบตาด้วย Analysis Thinking และ Critical Thinking” จาก FutureSkill ซึ่งยังมีอีกหลายเทคนิคในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการพัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หรือ เทคนิคในการรับมือกับวิกฤติและการตัดสินใจ สามารถเข้าเรียนกับเราได้ที่ https://fskill.co/RMyH