80% ของคน ตั้งเป้าหมาย ปีใหม่ พังตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก ..แล้วคนที่สำเร็จเค้าทำยังไง?

ใครเป็นแบบนี้บ้าง? พอสิ้นปี “ปีนี้จบไปแล้ว ปีหน้าเรามา ตั้งเป้าหมาย ใหม่ให้ตัวเองใหม่เหอะ”
เริ่มจากเปลี่ยนตัวเอง หาคอร์สเรียนออนไลน์เรียนแล้วกัน
ข่าวร้ายคือ จากผลวิจัย 40-80% ของคนสมัครเรียนออนไลน์
เรียนไม่ถึงไหนก็เลิก…

อ่าน: 14 ทักษะ ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดปี 2018 จาก LinkedIn

แล้วเรียนออนไลน์มันเกี่ยวอะไรกับความสำเร็จ?

ผลสำรวจนักเรียน 50,000 คน ที่เรียนเว็บ Coursera จบ
72% บอกว่าประสบความสำเร็จกับเรื่องงานมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น หางานใหม่ที่ดีกว่าเดิม ได้เลื่อนขั้น หรือทำงานได้ผลลัพธ์มากขึ้น

ถ้าอยากเปลี่ยนตัวเอง อยากประสบความสำเร็จ
แต่เอาแต่มองหาทางลัด รวยลัด รอโอกาส
มัวแต่ตั้งเป้าหมาย แต่ไม่ทำอะไรกับมัน
ชีวิตก็คงไม่ต่างจากเดิม

วันนี้เราจึงนำเสนอ “4 นิสัยการพัฒนาตัวเอง ของคนที่ประสบความสำเร็จ”

 

1. พุ่งเป้าเรียนรู้ไปที่ทักษะเกิดใหม่

หา “ทักษะที่เกิดใหม่” (Emerging Skills)
ไม่ใช่แค่เรียนตามความสนใจที่ Search เจอใน Google
เพราะในยุคนี้ลักษณะงาน มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา

เทคนิคขั้นแรกคือ เข้าไปเว็บประกาศหางานก่อน
แล้วดูว่าบริษัท Topๆ ในวงการ เค้ามองหาคุณสมบัติ/ทักษะอะไรมากที่สุด

ขั้นที่สองคือ การเข้าหาคนที่ใช่
เริ่มจากคนที่รู้จักหรือจากบน LinkedIn ที่ Level การทำงานสูงๆ
ในแวดวงที่คุณสนใจ เช่น ด้านการขาย

ลองทำความรู้จักและถามเขา

“คุณมีวิธีเรียนรู้ยังไง? และทักษะอะไร ที่ทำให้ยังประสบความสำเร็จในอาชีพนี้?”

แล้วจะแปลกใจว่าคนส่วนใหญ่ อยากแบ่งปันเรื่องของตัวเองให้คุณฟัง

พอรู้แล้วว่ามีทักษะไหนบ้าง ลองมองหาคอร์สเรียน
คอร์สที่เรียนไม่ควรเน้นวิชาการ ให้เลือกคอร์สที่มีประโยชน์กับงานจริงๆ
วิธีคือ มองหาคนสอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงนั้น
หรือมาจากบริษัทที่คุณชื่นชอบ

(ผู้เชี่ยวชาญ กับผู้มีชื่อเสียงไม่เหมือนกัน
บางคนอาจมีชื่อเสียง แต่ไม่ได้เชี่ยวชาญจริงๆ)

 

2. เรียนพร้อมกัน ย่อมดีกว่า

สมัยนี้เรียนออนไลน์มีเยอะ ข้อดีคือ เรียนได้สะดวก อิสระ สั้น
แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ..เรียนคนเดียวมันช่างโดดเดี่ยว (solitary)
เมื่อไม่ได้ตอบโต้ไปมากับใคร ก็ทำให้คนเรียน “ขาด Motivation”

นักวิจัยบอกว่า “ระดับความรู้สึกโดดเดี่ยว” (The sense of isolation) นี้
จะเป็นตัวตัดสินเลยว่า คนๆนี้จะเรียนออนไลน์ได้สำเร็จหรือไม่..

แต่ก็แก้ได้โดยการ เรียนแบบสอนสด
ถ้าไม่ได้ก็ลองวิธี จับกลุ่มกับเพื่อนเรียนรายสัปดาห์ (cohort)

เพราะความรู้สึก “เรียนร่วมกัน” (camaraderie)
มีผลวิจัยว่าการสอนและถามตอบกับเพื่อน
ทำให้เราเข้าใจ จดจำ และประยุกต์สิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น

และการเรียนเป็นกลุ่ม ยังทำให้เรารู้สึกไม่อยากล้าหลังใครอีกด้วย
ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นชั้นเยี่ยม ให้อยากเรียน

 

3. ลงมือสิ จะรอให้ลืมหรือไง

“การลงมือทำให้เราจดจำได้ดีขึ้น” นี่คือความจริงที่มีผลวิจัยรองรับ
ปัญหาใหญ่ของการเรียนคือ เราเรียนแต่ทฤษฎี แต่ไม่เคยลงมือจริง

เช่น ถ้าเรียนเราเรื่องการทำ Distributed Computing System
แต่ไม่เคยเข้า Amazon Web Service ไปลองทำจริง
สุดท้ายก็จะลืมอย่างรวดเร็ว

เพราะฉะนั้นคนสำเร็จ จะหาโอกาสในการลงมือเสมอ
เพื่อช่วยให้จำ และเจอสิ่งที่คาดไม่ถึงจากสถานการณ์จริงๆ

การลงมืออาจเริ่มจากทำที่บ้าน หรือถ้าไม่ได้
ก็สามารถใช้การจำลองออนไลน์ (Simulation) ช่วยได้
เช่น การหัดผ่านตัด หรือ ฝึกงานด้านการแพทย์

 

4. ต้องวัดความก้าวหน้า

คนสำเร็จมักวัดผลเป็น “ความก้าวหน้า” ของตัวเอง
เช่น ได้งานใหม่ ได้เลื่อนขั้น หรือถูกเลือกเป็นหัวหน้าทีม
และเลือกเรียน ควรมองด้วยเป้าหมายเหล่านี้เป็นหลัก

การเรียนรู้ มันเป็นเหมือนการวิ่งมาราธอน
หลังจากเราทำเป้าหมายแรกสำเร็จ
ก็ถึงเวลาทำเป้าหมายถัดไป
ยิ่งคุณทำแบบนี้ ก็จะกลายเป็นนิสัยที่เลิกยากไปโดยปริยาย

และนี่คือนิสัยการเรียนของคนที่ประสบความสำเร็จ

อ้างอิง : 
- http://www.hrmagazine.co.uk/article-details/january-the-most-popular-month-for-job-changes
- https://www.slideshare.net/Coursera/coursera-impact-revealed-learner-outcomes-in-open-online-courses 
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3536268/
- http://ideas.time.com/2011/11/30/the-protege-effect/ 
- https://eric.ed.gov/?id=EJ853737 
- https://hbr.org/2018/01/4-habits-of-people-who-are-always-learning-new-skills#comment-section